อะไรคืออัตราส่วนกำลังอัด อัตราส่วนBore to Stroke

อธิบายอัตราส่วนกำลังอัด และอัตราส่วน Bore to Stroke

อัตราส่วนกำลังอัดเครื่องยนต์ (Compression Ratio) และอัตราส่วนความกว้างกระบอกสูบ / ระยะชัก (Bore to Stroke Ratio) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

ศัพท์ที่ต้องรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์
อะไรคืออัตราส่วนกำลังอัด อัตราส่วนBore to Stroke
Displacement = ความจุของกระบอกสูบ (ไม่รวมปริมาตรฝาสูบ)
TDC = Top Dead Center = ศูนย์ตายบน = ตำแหน่งที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นสูงสุด
BDC = Bottom Dead Center = ศูนย์ตายล่าง = ตำแหน่งที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นต่ำสุด
Vc = Clearance Volume = ปริมาตรกระบอกสูบ ขณะที่ลูกสูบอยู่ศูนย์ตายบน
Bore = ความกว้างกระบอกสูบ
Stroke = ระยะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นสุดและเลื่อนลงสุดหรือ ระยะชัก

อัตราส่วนกำลังอัด คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาตรความจุของกระบอกสูบ กับปริมาตรในกระบอกสูบในขณะที่ลูกสูบอยู่ศูนย์ตายบน
เครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนกำลังอัดเท่ากับ 10 ก็คือเครื่องยนต์ที่ลูกสูบสามารถบีบส่วนผสมในห้องเผาไหม้ให้เหลือเพียง 1 ใน 10 ของปริมาตรความจุนั่นเอง
อะไรคืออัตราส่วนกำลังอัดอะไรคืออัตราส่วนกำลังอัด

ยกตัวอย่างรถ Ninja300 ที่มีความจุของห้องเผาไหม้ทั้งหมดสูบนึง 163.42 cc และปริมาตรในกระบอกสูบ ขณะลูกสูบอยู่ศูนย์ตายบนเท่ากับ 15.42 cc อัตราส่วนกำลังอัดจะเท่ากับ 163.42 หาร 15.42 หรือเท่ากับ 10.6 : 1 นั่นเองอัตราส่วนกำลังอัด

 

ข้อดีของการมีอัตราส่วนกำลังอัดเครื่องยนต์ที่สูง : เครื่องยนต์ยิ่งอัตราส่วนกำลังอัดมาก ถ้าให้เชื้อเพลิงเท่ากันย่อมมีแรงกระทำกับเพลาข้อเหวี่ยงมากกว่าเครื่องยนต์ที่กำลังอัดน้อยกว่า
นอกจากนี้การที่เครื่องยนต์มีกำลังอัดที่สูง ก็จะทำให้การเผาไหม้หมดจดมากขึ้น ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า

ข้อเสียของเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูง : คืออุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะสูงทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงที่มีค่า Octane สูง ซึงราคาก็สูงตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการ Engine knock หรือการที่มีการจุดระเบิดผิดเวลา ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

ยกตัวอย่างรถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลจะได้เปรียบที่สามารถมีอัตราส่วนกำลังอัดได้สูง เพราะจ่ายน้ำมันตอนจุดระเบิดทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่อง Engine knock ทำให้ได้ค่าแรงบิดสูงสุดสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

เปรียบเทียบอัตราส่วนกำลังอัด เบนซิน ดีเซล

แต่อัตราส่วนกำลังอัดก็ไม่ใช่ทุกอย่างของเครื่องยนต์ ดูตัวอย่าง รถมอเตอร์ไซค์คลาส 300 และ650 cc สังเกตว่าอัตราส่วนกำลังอัดอย่างเดียว ไม่ใช่ตัวบ่งบอกว่าแรงบิด และแรงม้าสูงสุดของรถแต่ละค่ายจะมากแค่ไหน

อัตราส่วนกำลังอัดมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์

อัตราส่วนอีกตัวที่น่าสนใจก็คือ อัตราส่วน Bore to Stroke หรือ ความกว้างกระบอกสูบ / ระยะชัก

อธิบายอัตราส่วน Bore to Stroke

เครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วน Bore to Stroke น้อยกว่า 1 (Undersquare engine) คือเครื่องยนต์ที่มีความกว้างกระบอกสูบน้อยกว่าระยะชัก
เครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วน Bore to Stroke มากกว่า 1 (Oversquare engine) คือเครื่องยนต์ที่มีความกว้างกระบอกสูบมากกว่าระยะชัก
เครื่องยนต์ที่อัตราส่วน Bore to Stroke เท่ากับ 1 (Square engine) คือเครื่องยนต์ที่มีความกว้างกระบอกสูบเท่ากับระยะชัก

OVERSQUARE ENGINE

OVERSQUARE ENGINE เครื่องยนต์ระยะชักสั้น

ด้วยความกว้างกระบอกสูบที่มากกว่า เครื่องยนต์ประเภทนี้จะมีขนาดวาล์วไอดี ไอเสียที่ใหญ่
และจะทำรอบได้สูงกว่าในความเร็วลูกสูบที่เท่ากัน ระยะชักที่สั้นจะทำให้ลูกสูบไม่ต้องเคลื่อนที่เยอะ
ทำให้เครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากในการผลิต
ข้อเสียของเครื่องยนต์ประเภทนี้คือจะมีประสิทธิภาพทางความร้อน หรือ Thermal Efficiency ที่ต่ำกว่าเครื่องยนต์แบบ Undersquare Engine เพราะขนาดวาล์วที่ใหญ่กว่าทำให้ ศูนย์เสียพลังงานความร้อนที่จะแปลงเป็นพลังงานได้ง่าย

รถบิ๊กไบค์ในตลาดส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วน Bore to Stroke อยู่ที่ 1 - 1.5 เท่า จะมี Panigale 899 ที่มีอัตราส่วนความกว้างกระบอกสูบ ต่อ ระยะชักที่สูงเป็นพิเศษที่ 1.75 : 1  เท่าเลยทีเดียว

UNDERSQUARE ENGINE

UNDERSQUARE ENGINE เครื่องยนต์ระยะชักยาว

ตรงข้ามกับเครื่องยนต์แบบที่แล้ว Undersquare Engine จะมีขนาดวาล์วไอดี ไอเสียที่เล็ก
นอกจากนี้ที่ความเร็วลูกสูบเท่ากันเครื่องยนต์จะมีแรงเสียดทานกระทำต่อก้านสูบมากในรอบสูง
รูปทรงของเครื่องยนต์ประเภทนี้จึงไม่เอื้ออำนวยต่อการทำกำลังในรอบสูง
รถที่มีเครื่องยนต์แบบนี้จะนิยมจูนให้มีกำลังสูงสุด และแรงบิดสูงสุดในรอบต่ำ
ข้อได้เปรียบของเครื่องยนต์ประเภทนี้คือจะมีประสิทธิภาพทางความร้อน หรือ Thermal Efficiencyที่สูงกว่า Oversquare Engine เพราะขนาดวาล์วที่เล็กกว่า ทำให้ศูนย์เสียพลังงานความร้อนที่จะแปลงเป็นพลังงานน้อย

ตัวอย่างรถบิ๊กไบค์ที่มีเครื่องยนต์แบบ Undersquare Engine ก็เช่น Sportster 883 ที่มีอัตราส่วน อัตราส่วนความกว้างกระบอกสูบ ต่อ ระยะชักอยู่ที่ 0.787 : 1 เท่า

ดูตัวอย่างเปรียบเทียบ รถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์คลาส 800-1000 cc

อธิบายอัตราส่วน ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก

สังเกตได้ว่ารถที่มีอัตราส่วน Bore to Stroke สูง จะมีแรงบิดสูงสุุด และกำลังสูงสุดอยู่ในรอบที่สูง
และรถที่มีอัตราส่วน Bore to Stroke ต่ำ จะมีแรงบิดสูงสุด และกำลังสูงสุดอยู่ในรอบที่ต่ำ

การเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ง่ายๆทำได้ 2 วิธี อย่างแรกคือการเพิ่มความจุเครื่องยนต์ อย่างที่สองคือการเพิ่มรอบของเครื่องยนต์

ยกตัวอย่าง การใส่ลูกสูบที่ใหญ่ขึ้นนอกจากจะเพิ่มอัตราส่วนกำลังอัด แล้วยังเพิ่มอัตราส่วน Bore to Stroke อีกด้วย ทำให้ได้แรงม้า และแรงขับที่สูงขึ้น
Kawasaki เคยปรับรถ ZX-6R 599cc โดยเพิ่มความโตลูกสูบขึ้น 2mm เพื่อปรับรถเป็น ZX-6R 636cc ซึ่งเป็นตัวที่มีค่าแรงบิดสูงสุดในคลาส Sport 600cc

นอกจากนี้อัตราส่วนที่อธิบายไป ก็มีอีกหลากหลายปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เช่น รูปทรงลูกสูบ ความเร็วลูกสูบสูงสุด การสูญเสียแรงอัดจากการเปิดปิดของวาล์วในรอบสูง ฯลฯ เพราะฉะนั้นจะดูอัตราส่วนแค่ค่าๆเดียวไม่ได้

ตารางสรุป อัตราส่วนกำลังอัด (Compression Ratio), อัตราส่วนความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (Bore to Stroke Ratio) และประสิทธิภาพเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์แต่ละรุ่น

ค่าย HONDA

Compression ratio, bore to stroke ratio HONDA

ค่าย KAWASAKI

Compression ratio, bore to stroke ratio KAWASAKI

ค่าย YAMAHA

Compression ratio, bore to stroke ratio YAMAHA

ค่าย BENELLI

Compression ratio, bore to stroke ratio BENELLI

ค่าย DUCATI

Compression ratio, bore to stroke ratio DUCATI

ค่าย SUZUKI

Compression ratio, bore to stroke ratio SUZUKI

ค่าย KTM

Compression ratio, bore to stroke ratio KTM

ค่าย VESPA

Compression ratio, bore to stroke ratio VESPA

ค่าย TRIUMPH, BMW,  HARLEY DAVIDSON และ ROYAL ENFIELD

Compression ratio, bore to stroke ratio TRIUMPH, BMW, HARLEY DAVIDSON, ROYAL ENFIELD

Credits:
'https://www.youtube.com/watch?v=nveqCMNTth0
http://www.visordown.com/features/workshop/understanding-compression-ratios
https://en.wikipedia.org/wiki/Stroke_ratio
http://bikearama.com/theory/calculate-compression-ratio/
http://www.visordown.com/features/workshop/understanding-bore-and-stroke